Monday, June 29, 2015

ข่า ขับลม ขับเสมหะ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

ข่า ขับลม ขับเสมหะ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ 

ขิงก็รา ข่าก็แรง สำนวนไทยสำนวนนี้คงเป็นสำนวนที่คนไทยส่วนไทย(สมัยนี้)คุ้นเคยเป็นอย่างดี หมายถึง ต่างก็จัดจ้างพอๆกัน ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอๆกัน ต่างไม่ยอมลดละกัน” (อ้างอิงตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525) ข่า ข่า เป็นพืชล้มลุกอยู่ในวงศ์ Zinggiberaceae เช่นเดียวกับขมิ้นและขิง ชื่อในพฤกษ์ศาสตร์คือ Alpinia galanga(Linn.) Wild. มีลำต้นใต้ดิน ส่วนบนดินมีลำต้นเทียมที่เกิดมาจากก้านใบสูงประมาณ 1-2 เมตร แตกหน่ออกเป็นกอ ใบเป็นรูปไข่ยาวออกสลับกัน ดอกมีสีขาวประจุดม่วงแดงออกตรงปลายยอดเป็นช่อ ผลของข่ามีขนาดเล็กสีเขียว ข่ามีชื่อในทางสมุนไพรว่า กฏุกกโรหินี ภาษาอังกฤษเรียกว่า Greater galangal ข่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทยและเพื่อนบ้าน ในประเทศจีนและอินเดียมีพืชลักษณะเดียวกันแต่เป็นคนละชนิด ข่าในรูปอาหารไทย คนไทยนิยมนำข่ามาปรุงอาหารมากที่สุดในโลก(ก็เพราะมันมีถิ่นกำเนิดที่ไทย) นอกจากส่วนช่อดอกของข่าที่จะนำมาจิ้มโดยตรงแล้ว ยังมีการนำเอาส่วนที่เป็นลำต้นใต้ดินมาปรุงอาหารไทยหลายชนิด ถ้าหากไม่นำข่ามาปรุงอาหารไทย รสชาติของอาหารไทยคงจะผิดแปลกไปจากปัจจุบันอย่างมาก เนื่องลำต้นใต้ดินของข่านี้มีคุณสมบัติชอบดับกลิ่นคาวของเนื้อ และมีน้ำมันระเหยซึ่งมีกลิ่นฉุนและรสเผ็ดเฉพาะตัว แกงข่าไก่ ข่าในฐานะสมุนไทย ข่า เป็นพืชสมุนไทยที่ใช้กินเพื่อเป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้บิด หากใช้ภายนอกสามารถทาแก้กลากเกลื้อน แก้ลมพิษ เป็นต้น ข่าเป็นส่วนประกอบของพิกัดตรีวาดผล ใช้แก้โรคลม และพิกัดตรีกาฬพิษ ซึ่งแก้พิษกาฬ เป็นส่วนประกอบสำคัญของยาไฟบรรลัยกัลป์ ซึ่งสามารถช่วยในการขับน้ำคาวปลา ช่วยมดลูกเข้าอู่ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ สรรพคุณของข่า และวิธีการใช้ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง ใช้เท่าหัวแม่มือ ทุบให้แตกแล้วนำมาต้มจากนั้นเอาน้ำมาดื่ม ใช้รักษาโรคผิวหนัง ใช้ลำต้นใต้ดินของข่ามาฝนกับเหล้าหรือน้ำส้มสายชู หรือตำแล้วแช่แอลกอฮอล์ ประโยชน์ของข่าในด้านอื่นๆ ในปัจจุบันมาการนำข่ามาใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชแทนการใช้สารเคมี สูตรสมุนไพรป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ดีคือ สะเดา ข่า และตพไคร้หอม เพราะข่ามีน้ำมันระเหยที่มีกลิ่นฉุน ทำให้แมลงไข่ฝ่อ กำจัดเชื้อราบางชนิด

ขอบคุณข้อมูลจาก :siam-herbs.com/