ท่านรู้ไหมว่า มังคุด..เกิดมาเพื่อประเทศไทย
ปลูกที่ไหนก็ได้ผลไม่ดีเท่ากับ ปลูกในแผ่นดินทอง..ของเรา
ด้วยรสฝาดสมานของเปลือกมังคุด คนไทยจึงใช้ประโยชน์ในการเป็นยามาแต่โบราณ โดยเฉพาะทำเป็นยาสมานแผล ช่วยให้แผลหายเร็ว และยังมีการใช้เปลือกมังคุดในการรักษาโรคผิวหนังอื่นๆ ด้วย
ด้วยรสฝาดสมานของเปลือกมังคุด คนไทยจึงใช้ประโยชน์ในการเป็นยามาแต่โบราณ โดยเฉพาะทำเป็นยาสมานแผล ช่วยให้แผลหายเร็ว และยังมีการใช้เปลือกมังคุดในการรักษาโรคผิวหนังอื่นๆ ด้วย
สรรพคุณในการรักษาโรคผิวหนังของเปลือกมังคุดนี้
ได้รับการพิสูจน์และยืนยันจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบว่า รสฝาดในเปลือกมังคุดนี้มีสารแทนนิน
(Tannin) และสารแซนโทน (Xanthone) ที่มีชื่อเรียกเฉพาะชื่อเดียวกับมังคุดว่า
สารแมงโกสติน (Mangostin) สารแทนนินมีฤทธิ์สมานแผลช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
สารแมงโกสตินมีฤทธิ์ช่วยลดอาการอักเสบ และต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง
และยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังและกลากได้
ผลิตภัณฑ์จากเปลือกมังคุด...มูลค่าเพิ่มจากเปลือกผลไม้
ยาการ์ซิดีน ยาฆ่าเชื้อใส่แผลจากเปลือกมังคุด
ครั้งแรกของยาฆ่าเชื้อ...จากสมุนไพรไทย
ในปัจจุบันพบว่ายาฆ่าเชื้อใส่แผล เช่น ยาแดง ยาเหลือง มักมีข้อจำกัดในการใช้เพราะมีสารโลหะหนักที่อาจก่อให้เกิดความเป็นพิษได้ ส่วนทิงเจอร์ไอโอดีน มีฤทธิ์ระคายเคืองสูง ทำให้แสบมากและเปรอะเปื้อนเสื้อผ้าได้ง่าย ต่อมามีการพัฒนาโดยการนำไอโอดีนไปทำเป็นสารประกอบกับโพวิโดน ซึ่งเรียกว่า โพวิโดน ไอโอดีน ซึ่งระคายเคืองน้อยกว่าทิงเจอร์ไอโอดีน และไม่ทำให้เปรอะเปื้อนเสื้อผ้า แต่ข้อเสียของยาตัวนี้ คือ ไอโอดีนมีฤทธิ์ระคายเคืองและยับยั้งการสมานตัว (Healing) ของแผล ที่สำคัญคือ ยาฆ่าเชื้อที่ใช้กันอยู่เหล่านี้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อันทำให้เกิดการสูญเสียเงินตรามหาศาล โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรจึงได้คิดค้นวิธีการสกัดและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเปลือกมังคุด เพื่อทดแทนยาฆ่าเชื้อใส่แผลจากต่างประเทศจนได้ความเข้มข้นของสารสกัดและตำรับที่เหมาะสมโดยมีฤทธิ์การฆ่าเชื้อได้ดีเท่าๆ กบโพวิโดน ไอโอดีน ซึ่งทำให้ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น จากการประชุมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุข
ประโยชน์และคุณค่าของการ์ซิดีน
การ์ซิดีนนอกจากจะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้ดีเทียบเท่ากับโพวิโดน ไอโอดีนแล้ว ยังเป็นสารที่มาจากธรรมชาติ มีฤทธิ์อื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการหายของแผล เช่น มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและฝาดสมาน การพัฒนายาการ์ซิดีนจากเปลือกมังคุด ยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิตการเกษตร ทั้งยังลดภาระการกำจัดขยะจากเปลือกมังคุด ลดการนำเข้ายาฆ่าเชื้อจากต่างประเทศด้วย
ผลิตภัณฑ์จากเปลือกมังคุด...มูลค่าเพิ่มจากเปลือกผลไม้
ยาการ์ซิดีน ยาฆ่าเชื้อใส่แผลจากเปลือกมังคุด
ครั้งแรกของยาฆ่าเชื้อ...จากสมุนไพรไทย
ในปัจจุบันพบว่ายาฆ่าเชื้อใส่แผล เช่น ยาแดง ยาเหลือง มักมีข้อจำกัดในการใช้เพราะมีสารโลหะหนักที่อาจก่อให้เกิดความเป็นพิษได้ ส่วนทิงเจอร์ไอโอดีน มีฤทธิ์ระคายเคืองสูง ทำให้แสบมากและเปรอะเปื้อนเสื้อผ้าได้ง่าย ต่อมามีการพัฒนาโดยการนำไอโอดีนไปทำเป็นสารประกอบกับโพวิโดน ซึ่งเรียกว่า โพวิโดน ไอโอดีน ซึ่งระคายเคืองน้อยกว่าทิงเจอร์ไอโอดีน และไม่ทำให้เปรอะเปื้อนเสื้อผ้า แต่ข้อเสียของยาตัวนี้ คือ ไอโอดีนมีฤทธิ์ระคายเคืองและยับยั้งการสมานตัว (Healing) ของแผล ที่สำคัญคือ ยาฆ่าเชื้อที่ใช้กันอยู่เหล่านี้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อันทำให้เกิดการสูญเสียเงินตรามหาศาล โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรจึงได้คิดค้นวิธีการสกัดและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเปลือกมังคุด เพื่อทดแทนยาฆ่าเชื้อใส่แผลจากต่างประเทศจนได้ความเข้มข้นของสารสกัดและตำรับที่เหมาะสมโดยมีฤทธิ์การฆ่าเชื้อได้ดีเท่าๆ กบโพวิโดน ไอโอดีน ซึ่งทำให้ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น จากการประชุมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุข
ประโยชน์และคุณค่าของการ์ซิดีน
การ์ซิดีนนอกจากจะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้ดีเทียบเท่ากับโพวิโดน ไอโอดีนแล้ว ยังเป็นสารที่มาจากธรรมชาติ มีฤทธิ์อื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการหายของแผล เช่น มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและฝาดสมาน การพัฒนายาการ์ซิดีนจากเปลือกมังคุด ยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิตการเกษตร ทั้งยังลดภาระการกำจัดขยะจากเปลือกมังคุด ลดการนำเข้ายาฆ่าเชื้อจากต่างประเทศด้วย